Jump to Navigation

เพิ่มเพื่อน
สั่งซื้อสินค้าผ่านไลน์

ประวัติโอเวชั่น

ประวัติโอเวชั่น>> จากโปร่งสู่โปร่งไฟฟ้า>>  โรงงานโอเวชั่น Hartford Connecticut U.S.A.>>   

   จินตนาการคือแรงขับเคลื่อนสำคัญสำหรับอุตสาหกรรม เครื่องดนตรี  ในกลางปี ค.ศ ที่ 60 นายชาลส์ เอช คาร์แมน วิศวกรด้านการบิน ผู้ซึ่งเป็นนักกีตาร์ในขณะเดียวกันได้จินตนาการโดยนำสมมติฐานของแรงสั่นสะเทือนที่ช่วยให้เขาสามารถออกแบบเฮลิคอร์ปเตอร์สำหรับธุรกิจด้านการบินของเขามาปรับใช้ในการผลิตกีตาร์ชั้นดีเช่นเดียวกัน  ภายในระยะเวลา 2 ปี เขาและบรรดาเพื่อนฝูงและผ้ชำนาญทางเทคนิคช่วยกันพัฒนาซึ่งจริง ๆ แล้วคือการพลิกโฉมรูปแบบของกีตาร์เลยก็ว่าได้ ด้วยการนำวัสดุจากเรซินที่มีลักษณะกึ่ง ๆทรง รูปไข่มาประกอบเป็นส่วนหลังของกีตาร์เพื่อเป็นจุดรวมของพลังเสียงบนเพดานของกีตาร์

   ด้วยลักษณะอันโค้งมน และไร้รูพรูนนั่นเอง ทำให้ที่มาของเสียงกีต้าร์โอเวชั่นนั้น ปราศจากการขัดขวางจากโครงสร้างไม้ในลำตัวกีต้าร์ ทำให้แรงสั่นสะเทือนของสายที่ทุกส่งมายังตัวกีต้าร์เป็นไปอย่างลื่นไหล และแปรเปลี่ยนเป็นเสียงออกมาอย่างรวดเร็ว โดยยังคงใช้ไม้ในการทำส่วนลำตัวด้านหน้าเอาไว้ ทำให้ลักษณะเสียงของกีต้าร์โอเวชั่นนั่นเป็นเอกลักษณะของตัวเอง และมีความแม่นยำในแต่ละตัว note

 ต่อมาโอเวชั่นได้นำหลักการไฟฟ้าที่ใช้ผลึกแร่ในการบังคับให้กระแสไฟฟ้าเดินไปในทางเดียวมาใช้โดยผ่านเครื่องแปรงสัญญาณไฟฟ้าเพื่อผลิตกีตาร์โปร่งไฟฟ้าตัวแรกในทศวรรษนี้  ที่ได้คิดค้นระบบ pick up ในแบบ piezo โดยได้ฝังผลึกรับสัญญาณ ลงใต้ Bridge เพื่อให้นักกีต้าร์ผู้เลื่องชื่อ Glen Campbell ใช้ในการแสงคอนเสริต์ของเขา และด้วยคุณลักษณะของ Lyrachord Bowl  (Roundback) รูปหลังเต่า ที่โค้งมน และปราศจากโครงสร้าง และไร้รูพรุน นี้เอง ทำให้การส่งถ่ายกำลังเสียงของแต่ละตัว note มีความแม่นยำซึ่งเป็นผลจากการสะท้อนกลับของเสียง อย่างเที่ยงตรงแม่นยำ

   อันทำให้กีต้าร์โอเวชั่นได้รับการขนานนามว่า เป็นกีต้าร์ที่มีความเสถียรของ note เสียง สืบเนื่องด้วย  Charlie Kaman เป็นนักดนตรี Jazz ที่จะไม่ยึดติดกับการเล่นเพียงสองหรือสามเฟรดแรก ซึ่งนักดนตรีทั่วไปเรียกว่า “เฟรดหากิน” เขาจะเล่นหมดทุกจุดบน fingerboard จุดบอดที่สำคัญที่สุดที่เขาบ่นบ่อยๆ ที่พบในกีตาร์ทั่วไปที่ผลิตออกมา คือเสียงที่ไม่สมดุล กีตาร์ส่วนใหญ่มักจะเปร่งเสียงเพียงแค่ไม่กี่เฟรดแรก ซึ่งเสียงมักจะเป็นเสียงอ้วน ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงต่ำสุดจะไม่ชัดและใส เสียงสูงสุดก็สั่น ปราศจากความสมดุลจนแถบวัดระดับเสียงบน EQ มีรูปราวกับหน้าคนกำลังยิ้ม! ซึ่งแตกต่างจากกีต้าร์ โอเวชั่นที่ให้ความสมดุลในทุกตำแหน่งของตัว Note

   และอีกครั้งกับนวัตกรรมการออกแบบที่ภายหลังคาร์แมน ได้จินตนาการกีตาร์รุ่นที่มีช่องเสียงเล็ก ๆสองชั้นบนอันเป็นที่มาของ โพรงเสียงแบบ Multi- Soundhole เพื่อลดแรงจากการขึงสายด้านบนแม้ว่าน้ำหนักของการขึ้นสายจะมีมากเพียงใดก็ตาม

   สิ่งนี้เองทำให้นักอนุรักษ์กีต้าร์ที่มีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม ต้องตกตะลึงกับวิวัฒนาการของกีตาร์หลังเต่าที่หลุดกรอบจากแบบแผนเดิม ๆ  ด้วยลักษณะเฉพาะของเสียงที่ใส, การเปล่งเสียงออก, ความสมดุลของระดับเสียง และการแก้ปัญหาหลาย ๆ อย่างที่นักกีตาร์เคยประสบพบมาอย่างพูดกันไม่จบนี่เองทำให้กีตาร์โอเวชั่นชนะใจนักกีตาร์ที่มีความคิดยึดติดกับกีตาร์ในรูปแบบเดิมๆ อย่างหมดข้อกังขาโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ โดยสิ้นเชิง เหตุผลเหล่านี้ทำให้โอเวชั่นมีความเชื่อว่าจะมีการขยายตลาดของกลุ่มผู้เล่นที่เป็นนักสะสมกีตาร์และตามมาด้วยบรรดาแฟน ๆทั้งหลายเป็นจำนวนมากต่อไป ตามความจริงอันเป็นกฏของผู้ก่อตั้งโอเวชั่นที่ว่า “เมื่อตกอยู่ในความสงสัย, ให้ทดลองและสำรวจ”

ประวัติโอเวชั่น>> จากโปร่งสู่โปร่งไฟฟ้า>>  โรงงานโอเวชั่น Hartford Connecticut U.S.A.>>



 
ผู้แทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว 
 
 
ในประเทศไทย
   
 
 
   
 
CONNECT US 

Main menu 2